


เกี่ยวกับ
หลักการและเหตุผล
ระบบสื่อสารที่มีการใช้งานในปัจจุบัน:
• คนหูหนวก – คนหูหนวก : ภาษามือ (โทรศัพท์ภาพ), ข้อความ (TTY,SMS)
• คนหูหนวก – คนทั่วไป : ข้อความ, การถ่ายทอดการสื่อสาร (โทรศัพท์ภาพ + โปรแกรมแปลภาษา)
ปัญหา:
• ในประเทศไทยมีคนหูหนวกเพียง 5,403 คน จาก 389,000 คน เข้าศึกษาในโรงเรียน
• ภาษามือไทยในแต่ละท้องถิ่นมีการใช้งานเฉพาะกลุ่ม
วัตถุประสงค์
• เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการสื่อสารภาษามือไทยอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลเทคโนโลยีสารสนเทศความรู้ทางภาษาศาสตร์ และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ มาช่วยในการสร้างระบบการสื่อสารภาษาไทยทางวีดิทัศน์
• เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทางการลงรหัสสัญญาณวีดิทัศน์ การประมวลผลภาพการวิเคราะห์เนื้อหาสาระของวีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์กราฟฟิก การค้นคืนข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
• เพื่อเอื้อให้คนพิการทางการได้ยินสามารถมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง
• เพื่อสร้างฐานข้อมูลภาษามือไทย ซึ่งประกอบด้วยภาษาปกติ รูปภาพ และวีดิทัศน์
การดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระบบย่อย
1. ระบบการสื่อสารภาษามือไทยทางวีดิทัศน์สำหรับคนหูหนวก
2. ระบบการสื่อสารภาษามือไทยทางวีดิทัศน์โดยใช้วีดิทัศน์เสมือน
3. ระบบรู้จำและแปลภาษามือไทย
4. พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ภาษามือไทย